วันอังคารที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552

108 วิธีเอกซเรย์เนื้องอกด้วยตัวเอง

เนื้องอก

108 วิธีเอกซเรย์เนื้องอกด้วยตัวเอง (ชีวจิต)

แพทย์หญิงชัญวลี ศรีสุโข อธิบายว่า "ตอนนี้ยังไม่ทราบปัจจัยที่กระตุ้นให้เกิดเนื้องอกตามอวัยวะต่างๆชัดเจน และแต่ละอวัยวะก็มีปัจจัยแตกต่าง เช่น เนื้องอกมดลูก เต้านม รังไข่ มีปัจจัยเกี่ยวข้องคือ พันธุกรรม การบริโภคอาหาร เช่น กินไขมันมาก อ้วน และความผิดปกติของฮอร์โมนเพศ เนื้องอกที่ตับก็อาจมีเรื่องพฤติกรรมการสูบบุหรี่ ดื่มเหล้าจัด หรือได้รับสารพิษ ตลอดจนปัจจุบันมีการปนเปื้อนของสารเคมีในสิ่งแวดล้อม ซึ่งอาจเป็นตัวกระตุ้นการเกิดเนื้องอก แต่ไม่สามารถตอบได้ชัดว่าเป็นเพราะปัจจัยหนึ่งปัจจัยใด"

รู้จัก "เนื้องอก" ก่อนลงมือสังเกต

เนื้อ งอกมาจากคำว่า tumor หมายถึงการแบ่งตัวของเซลล์ที่ผิดปกติ ทำให้มีการบวม ขยายใหญ่ เป็นก้อน ตุ่ม ไต ซึ่งอาจงอกขึ้นมาใหม่จากเนื้อเยื่อปกติของร่างกาย อาจเกิดขึ้นภายในร่างกายหรือบนผิวหนังก็ได้

เนื้องอกแบ่งออกได้เป็น 2 ชนิดคือ หนึ่ง เนื้องอกที่ร้ายแรงหรือมะเร็ง (malignant tumor) สอง เนื้องอกชนิดธรรมดา (benign tumor) ซึ่งมีหลายแบบตามการเกิดในอวัยวะต่างๆ

ส่วน ถุงน้ำหรือซีสต์(Cyst) จัดเป็นเนื้องอกธรรมดาชนิดหนึ่ง มีลักษณะเป็นถุงกลมมีเซลล์บุอยู่ที่ขอบโดยรอบ ภายในมีสารที่เซลล์สร้างออกมาอยู่เต็ม ซึ่งจะเป็นของเหลวในรูปต่างๆ เช่น serous มีลักษณะใสจาง mucin มีลักษณะข้นๆ แบบวุ้น

นอก จากนี้ยังมีซีสต์อีกลักษณะที่ไม่จัดว่าเป็นเนื้องอก คือมีลักษณะเหมือนซีสต์เนื้องอกทุกประการยกเว้นไม่มีเซลล์บุอยู่ที่ขอบ เช่น ถุงน้ำในรังไข่ที่เกิดจากการตกไข่ไปแล้ว หรือเกิดจากฟองไข่เอง เป็นต้น

เนื้องอกทำร้ายเนื้อดีอย่างไร

ก้อนเนื้องอกจะเข้าไปทำเกิดอะไรกับเนื้อดีๆในร่างกายบ้าง ขึ้นอยู่กับปัจจัยดังนี้ค่ะ

1. ตำแหน่งเนื้องอก ถ้าเนื้องอกอยู่ในตำแหน่งที่เป็นอันตรายเช่น ในกะโหลกศีรษะ เนื้องอกจะไปกดทับ หรือเบียนเนื้อสมองทำให้การทำงานของสมองเสียไปหรือทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตได้ แต่ถ้าเป็นเนื้องอกที่อยู่ในตำแหน่งที่คลำหรือสังเกตได้ เช่น ผิวหนัง ซึ่งมักจะมีขนาดไม่ใหญ่ ก็จะสามารถรักษาได้ทันท่วงที

2. ชนิดของเนื้องอก เป็นตัวแปรที่สำคัญมาก คือ ถ้าเป็นเนื้องอกมะเร็งจะสามารถแพร่กระจายและทำลายอวัยวะส่วนอื่นๆได้ ส่วนเนื้องอกธรรมดามักทำให้เกิดอาการน้อย ยกเว้นบางกรณี เช่น เนื้องอกต่อมธัยรอยด์ที่จะทำให้เกิดอาการต่อมธัยรอยด์เป็นพิษ เนื่องจากเนื้องอกไปกระตุ้นให้มีการสร้างฮอร์โมนที่มากเกินไป เป็นต้น

นื้องอกมดลูกสังเกตได้อย่างไรหนอ

คุณหมอชัญวลีแนะวิธีสังเกตอาการเนื้องอกมดลูกว่า

1. ประจำเดือนผิดปกติมามากหรือมากะปริบกะปรอย

2. ประจำเดือนมีกลิ่นเหม็น จากการอักเสบของเนื้องอกภายใน

3. มีอาการท้องอืดท้องเฟ้อ

4. ปัสสาวะบ่อยหรือปัสสาวะไม่ออกเพราะเนื้องอกไปกดการทำงานของกระเพาะปัสสาวะ

5. ท้องผูกเพราะเนื้องอกไปกดการทำงานของลำไส้

6. สามารถคลำพบก้อนกลมแข็งบริเวณตรงกลางของท้องน้อย

มาสังเกตถุงน้ำที่รังไข่กันเถอะ

คุณหมอชัญวลีอธิบายว่า ถ้าเป็นซีสต์หรือถุงน้ำที่เป็นเนื้องอก ผู้ป่วยจะมีอาการคือ

1. มีอาการท้องอืด

2. ปวดท้อง

3. ประจำเดือนผิดปกติเพราะเกิดจากฮอร์โมนรังไข่ผิดปกติ

4. ถ้าเป็นคนผอมแต่มีพุงอาจตั้งข้อสังเกตว่าอาจมีถุงน้ำขนาดใหญ่อยู่ก็ได้

5. ถ้าถุงน้ำมีขนาดใหญ่เกิน 7 เซนติเมตร ตอนเช้าๆก่อนลุกไปปัสสาวะ จะคลำพบก้อนแข็งบริเวณท้องน้อยซึ่งอาจจะอยู่ตรงกลางหรือด้านข้างก็ได้ ภาษาชาวบ้านเรียกว่า ท้องเป็นดาน (แข็งเหมือนกระดาน) ซึ่งควรรีบไปพบแพทย์ เพราะถุงน้ำที่เป็นเนื้องอกปล่อยไว้เป็นอันตรายแพทย์จะต้องทำการผ่าตัดออก

เคล็ดไม่ลับสังเกตเนื้องอกและถุงน้ำที่เต้านม

คุณหมอชัญวลีให้ข้อมูลว่า "ถ้าเป็นถุงน้ำที่เต้านมจะรู้สึกว่าหน้าอกโตมากขึ้น หรือคลำเจอก้อน ซึ่งข้อที่น่าสนใจเกี่ยวกับซีสต์ธรรมดา กับมะเร็งเต้านมคือ ถ้าคลำแล้วเจ็บจะไม่ใช่มะเร็ง แต่ถ้าเป็นมะเร็งจะไม่มีอาการเจ็บ หรือว่าถ้าเป็นมะเร็งแล้วมีอาการเจ็บ ก็เป็นมะเร็งระยะสุดท้ายแล้ว"

ซีสต์และเนื้องอกที่ตับมีอาการอะไรบ้าง

ถ้า เป็นกรณีผู้ป่วยด้วยโรคเนื้องอกที่ตับ คุณหมอชัญวลีแนะวิธีสังเกตว่า ถ้าเนื้องอกที่ตับถ้าเป็นน้อยจะไม่แสดงอาการ แต่ถ้าเป็นมาก จะทำให้

1. ท้องอืด

2. เบื่ออาหาร

3. ดีซ่าน ตัวเหลือง ตาเหลือง

4. ขับถ่ายออกมีแต่กากเพราะอาหารไม่ย่อย

ถุงน้ำที่ต่อมธัยรอยด์สังเกตอย่างไร

คุณ รุ่งฟ้า ลิ้ม อายุ 40 ปี มีพบถุงน้ำที่ต่อมธัยรอยด์มาฟังเรื่องเล่ากันค่ะ "เมื่อปีที่แล้ว เราส่องกระจกมองที่คอตัวเองก็ตกใจเพราะเห็นว่า คอด้านซ้ายมีการบวมโตกว่าคออีกด้านหนึ่ง เมื่อใช้มือคลำก็พบก้อนเล็กบวมออกมา แต่ก็ไม่มีอาการเจ็บปวดอะไรนะ เวลากลืนน้ำกลืนอาหารก็ปกติดี ซึ่งถ้าเรายืนธรรมดาก็อาจไม่ค่อยเห็นว่ามันโตมาก แต่จะสังเกตเห็นชัดมาก เวลากลืนน้ำลายเพราะเจ้าก้อนนี้จะขยับขึ้นลงตามลูกกระเดือกของเรา ซึ่งพอมองคอคนอื่นๆ ก็ไม่เห็นมี จึงคิดว่าไม่ได้การแล้ว ต้องรีบไปพบแพทย์”"

" พอไปพบหมอ หมอก็ให้หลับตา แล้วยื่นมือออกมา ถ้ามือสั่น ก็สันนิษฐานได้ว่าเป็นอาการของโรคธัยรอยด์ รวมถึงหมอก็สั่งตรวจก้อนที่คอว่าจะเป็นเนื้องอก หรือว่าถุงน้ำ ซึ่งผู้ป่วยส่วนใหญ่ที่มาจะเป็นถุงน้ำเสียเป็นส่วนใหญ่"

" อาการที่เกิดขึ้นพร้อมๆกับการเกิดก้อนบริเวณคอคือ มีอาการมือสั่น ใจสั่น" จากบทความ neoplasia ของ นายแพทย์นิธิ จงจิตรนันท์ จากหนังสือ พยาธิวิทยากายภาคพื้นฐาน ยังอธิบายถึงภาวะบางอย่างที่ใกล้เคียงเนื้องอกคือ diffuse hyperplasia โรคนี้จะทำให้มีการแบ่งเซลล์เพิ่มจำนวนมากขึ้น และสร้างฮอร์โมน thyroxine เพิ่มขึ้น สังเกตได้จากการคลำพบต่อมธัยรอยด์มีลักษณะเป็นก้อนตะปุ่มตะบ่ำหลายๆก้อน ซึ่งจะทำให้ผู้ป่วยมีอาการ หัวใจเต้นเร็ว กินจุ แต่ผอมลง เหงื่อออกมาก หงุดหงิดง่าย เป็นต้น

อย่า มัวแต่สังเกตแต่อวัยวะทั้ง 32 เท่านั้น เพราะอวัยวะต่างๆจะผิดปกติได้นั้น มาจากพฤติกรรมการ กิน นอน พักผ่อน ออกกำลังกาย ทำงานผิดๆทั้งนั้น ดังนั้นควรสังเกตวิถีชีวิตของตัวเองด้วยว่าเหมาะสมและเอื้อต่อการมีสุขภาพดี หรือเปล่า แล้วค่อยมาสำรวจร่างกายทีหลัง ถ้าเห็นว่ายังบกพร่องอยู่ รีบเปลี่ยนแปลงซะ จะได้ไม่เจ็บ ไม่ป่วยอย่างไรเล่า

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น