ข่าวต่างประเทศ - เจนเนอรัล มอเตอร์ส ยื่นแผนดำเนินงานต่อกระทรวงการคลังสหรัฐ มุ่งเน้นเสริมความแข็งแกร่ง และขีดความสามารถในระยะยาว พร้อมวางแผนรองรับกับความถดถอยของตลาดรถทั่วโลก แผนดังกล่าวยังเผยถึงแนวทางสำคัญในการปรับโครงสร้างองค์กร ถือเป็นรายงานสถานะบริษัทฯ ตามข้อตกลงเงินกู้ที่ร่วมลงนามโดยจีเอ็ม และกระทรวงการคลังสหรัฐเมื่อวันที่ 31 ธันวาคม 2551 ที่ผ่านมา | ||||
นาย สตีฟ คาร์ไลส์ ประธานกรรมการ บริษัท เจนเนอรัล มอเตอร์ส เซาท์อีสต์ เอเชีย โอเปอเรชั่นส์ และบริษัท เชฟโรเลต เซลส์ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าว “แผนของเราจะแสดงให้เห็นว่าจีเอ็มสามารถดำเนินธุรกิจได้อย่างแข็งแกร่ง ด้วยการตั้งเป้าลดจำนวนการผลิตลง และยังแสดงให้เห็นถึงความก้าวหน้าและความเร่งด่วนของแผนงานนับตั้งแต่เดือน ธันวาคม 2551 ด้วยการตั้งเป้าเพื่อกลับมาสู่การได้รับผลกำไรภายใน 24 เดือน อย่างไรก็ตาม แผนงานเสริมสร้างความแข็งแกร่งของจีเอ็ม จำเป็นต้องได้รับแรงสนับสนุนและการอุทิศตนทำงานจาก ผู้เกี่ยวข้องกับจีเอ็มทุกฝ่ายทั่วโลก ทั้ง ฝ่ายบริหาร พนักงาน สหภาพ ซัพพลายเออร์ ผู้แทนจำหน่าย นักลงทุน และผู้ถือครองพันธบัตร” อย่างที่เคยระบุไว้ในช่วงปลายปีที่แล้ว จีเอ็ม กำลังก้าวไปข้างหน้าอย่างมุ่งมั่น พร้อมแผนการพัฒนาผลิตภัณท์ยานยนต์ที่ใช้เชื้อเพลิงอย่างมีประสิทธิภาพ และการพัฒนาเทคโนโลยีพลังขับเคลื่อนอันล้ำหน้า บริษัทฯลงทุนด้วยเม็ดเงินมหาศาลในการพัฒนาพลังงานทางเลือก และเทคโนโลยีพลังขับเคลื่อนอันล้ำหน้าภายในกรอบระยะเวลาระหว่างปี พ.ศ.2552-2555 นอกจากนี้ ยังสนับสนุนการพัฒนารถไฮบริด และรถพลังงานไฟฟ้าที่ขับเคลื่อนระยะทางไกล อย่าง เชฟโรเลต โวลต์ จีเอ็มยังมีความมุ่งมั่นที่จะพัฒนาตัวเลขรถไฮบริดให้เพิ่มเป็น 14 รุ่นภายในปีพ.ศ.2555 และการสร้างสรรค์ยานยนต์รองรับพลังงานทางเลือกให้เพิ่มมากกว่า 60% | ||||
การดำเนินธุรกิจของจีเอ็มในต่างประเทศ ระหว่างปีพ.ศ. 2552 จนถึงพ.ศ. 2557 จีเอ็มจะแสวงหาเงินทุนสนับสนุนจากภาคส่วนที่เกี่ยวข้องในตลาดที่ดำเนิน ธุรกิจอยู่ นอกเหนือจากนี้ ในสถานการณ์เศรษฐกิจปัจจุบัน จีเอ็มกำลังทบทวนพิจารณาแผนการขยายธุรกิจในเอเชียแปซิฟิก โดยบางโครงการ อย่างการขยายการผลิต และโครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ในภูมิภาคนี้จำเป็นต้องเลื่อนการดำเนินการออก ไปก่อน หากไม่มีการสนับสนุนจากรัฐบาล หรือฝ่ายที่เกี่ยวข้อง จีเอ็ม กำลังหารือกับทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องเพื่อแสวงหาการสนับสนุนการต่อยอดการลงทุน นี้ต่อไป “ใน ปีพ.ศ.2550 มีการผลิตรถมากถึง 1,188,044 คัน เกือบครึ่งหนึ่งถูกส่งออกไปยังตลาดต่างประเทศ โดยมีเป้าหมายการเติบโตของตัวเลขการผลิตเพิ่มขึ้นเป็น 2.5 ล้านคันภายในปีพ.ศ. 2559 โดยแบ่งเป็นการส่งออกราว 1.5 ล้านคัน มูลค่าการส่งออกโดยเฉลี่ยอยู่ที่ 400,000 ล้านบาทต่อปี แต่ในปี 2551 แม้ว่าจะเป็นช่วงวิกฤตเศรษฐกิจก็ตาม มูลค่าการส่งออกคิดเป็นสุทธิอยู่ที่ 482,960 ล้านบาท ในช่วงเดือนมกราคมถึงพฤศจิกายน ตัวเลขเหล่านี้บ่งบอกให้เราเห็นถึงการเจริญเติบโตของอุตสาหกรรมยานยนต์ของ ประเทศไทยที่มีเพิ่มขึ้น แน่นอนว่าจีเอ็มเองเป็นหนึ่งในองค์กรหลักที่ผูกพันต่อการอุทิศเพื่อการเติบ โตนี้ และเป็นเหตุผลหลักว่าทำไมจีเอ็มถึงต้องมองหาการสนับสนุนด้านเงินทุนระดับ ท้องถิ่นเพื่อสานต่อโครงการต่างๆในประเทศไทย” นายสตีฟ กล่าว |
วันศุกร์ที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552
จีเอ็มปรับแผนใหญ่มุ่งกลับมาผงาดภายใน2 ปี
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น