ASTV ผู้จัดการออนไลน์—องค์กรพัฒนาภาคเอกชนจากสหรัฐฯ กล่าวว่า การจับปรับ จับกุมคุม และปฏิบัติต่อหญิงโสเภณีตามซ่องต่างๆ ได้บีบบังคับให้หญิงสาวเหล่านั้นลงสู่ริมถนนในเมืองหลวงหรือเข้าแอบแฝงขาย บริการตามบาร์หรือร้านกินดื่ม โดยเฉพาะอย่างยิ่งร้านคาราโอเกะ ทำให้ยากต่อการให้ความช่วยเหลือ องค์กรพัฒนาภาคเอกชนที่ไม่สังกัดรัฐบาลหรือ เอ็นจีโอ (NGO) ที่เพิ่งจะตั้งขึ้นใหม่แห่งหนึ่งในสหรัฐฯ ได้เริ่มรณรงค์ให้ความรู้แก่หญิงขายบริการทางเพศในกรุงพนมเปญในสัปดาห์นี้ เกี่ยวกับการวิธีการป้องกันโรคเอดส์และโรคติดต่อผ่านเพศสัมพันธ์อื่นๆ แต่ก็ได้เจอปัญหาดังกล่าว หญิงสาวเหล่านั้นอยู่กระจัดกระจาย หลบๆ ซ่อนๆ ไม่ไว้วางใจหน่วยงานใด องค์การเพื่อสุขภาพครอบครัวระหว่างประเทศ หรือ FHI (Family Health International) ที่ได้รับการสนับสนุนทางการเงินจากสหรัฐฯ กล่าวว่า กฎหมายต่อต้านการค้าประเวณีที่มีผลบังคับใช้ในเดือน ก.พ.ปีที่แล้ว ทำให้ตำรวจกวาดล้างซ่องโสเภณีต่างๆ อย่างกว้างขวางทั่วประเทศ | ||||
เจ้าหน้าที่โครงการ SMARTgirl หรือ "หญิงเก่ง" ของ FHI กล่าวว่า การรณรงค์มีเป้าหมายเปลี่ยนแปลงวิถีการพูดถึงโรคเอดส์ หรือผู้ที่ติดเชื้อ HIV-AIDS ของคนทั่วไปเสียใหม่ โดยเน้นไปที่กลุ่มผู้ใช้บริการ ให้มองหญิงสาวเหล่านั้นในฐานะที่เป็น "ผู้บริสุทธิ์" มากยิ่งขึ้น และพวกเธอมีสิทธิ์ที่จะได้รับความปลอดภัยจากผู้ไปใช้บริการ "สมาร์ทเกิร์ลมีเป้าหมายที่จะเปลี่ยนแปลงวิถีที่ผู้คนพูดถึงเอชไอวี เอดส์" แคโรไลน์ ฟรานซิส (Caroline Francis) รองผู้อำนวยการ FHI กล่าว นอกจากนั้นเจ้าหน้าที่ของโครงการจะให้บริการตรวจหาเชื้อเอชไอวี ตรวจสารเสพติด ตลอดจนบริการที่ถูกกฎหมายอื่นๆ และ ยังจะรณรงค์ให้เกิดความชัดเจนในข้อกฎหมายต่อต้านการค้าประเวณี ซึ่งในปัจจุบันให้อำนาจตำรวจจับกุมหญิงสาวที่ตรวจพบว่ามีถุงยางอนามัยในครอบ ครองได้ โดยถือเป็นพยานวัตถุในการค้าประเวณี | ||||
ในกัมพูชาเคยมีการรณรงค์ให้ใช้ถุงยางอนามัยอย่างกว้างขวาง ในการป้องกันการแพร่ลามของโรคเอดส์ ซึ่งปรากฏว่าได้ผลอย่างดียิ่งอัตราของผู้ติดเชื้อลดลงอย่างมาก แต่กฎหมายต่อต้านการค้าประเวณีทำให้หญิงขายบริการที่เป็นกลุ่มเสี่ยง ใหญ่ที่สุดไม่สามารถใช้เครื่องมือที่มีประสิทธิภาพที่สุดและราคาถูกที่สุดใน การป้องกันตัวเองได้อย่างเต็มที่ องค์การ FHI ได้จัดประชุมสัมมนาเรื่องนี้ในวันศุกร์ (30 ม.ค.) ที่โรงแรมแคมโบเดียน่า โดยมีผู้เข้าร่วมประมาณ 500 คน รวมทั้ง นายมัมบุนเฮง (Mam Bun Heng) รัฐมนตรีสาธารณสุข กับ นางแครอล รอดลีย์ (Carol Rodley) เอกอัครราชทูตสหรัฐฯ คนใหม่ที่เพิ่งเข้ารับตำแหน่งด้วย | ||||
| ||||
| ||||
นักเคลื่อนไหวด้านสิทธิมนุษยชนกล่าวว่า กฎหมายต่อต้านการค้าประเวณีของกัมพูชาเป็นสิ่งที่เรียกกันในสหรัฐฯ ว่า "วิธีการแบบอย่างที่ใช้นิติบัญญัติ" มองหญิงขายบริการทางเพศในทางที่เสื่อมและทุกคนเป็นเหยื่อการค้ามนุษย์ จึงหาทางทำให้หญิงสาวเหล่านั้นเป็นสิ่งที่ผิดกฎหมาย องค์การรณรงค์เพื่อสิทธิมนุษยชนในกัมพูชา เคยรายงานเกี่ยวกับเจ้าหน้าที่ตำรวจปฏิบัติการอย่างโหดเหี้ยมกับหญิงขาย บริการทางเพศ ใช้ความรุนแรงในการสอบสวน รวมทั้งข่มขื่นหญิงสาวเหล่านั้นอีกด้วย. |
วันศุกร์ที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552
ข้อมูลใหม่ สาวๆทิ้งซ่องยึดถนนเบียร์บาร์ คาราโอเกะ
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น