“วิโรจน์ นวลแข” อดีตกรรมการผู้จัดการ ธนาคารกรุงไทย และ อดีตประธานกรรมการบริหาร บริษัทหลักทรัพย์ภัทร (บล.ภัทร) วิเคราะห์บริษัทข้อมูลเครดิตแห่งชาติ (เครดิต บูโร) พร้อมให้ข้อมูลความรู้เกี่ยวกับบทบาทในการดูแลลูกหนี้ การขึ้นบัญชีดำลูกหนี้รายย่อยที่ผ่านมา ต่อด้วยมุมมองคนไทยกับการมีที่อยู่อาศัยที่เต็มไปด้วยอุปสรรค ทั้งการกู้ได้ไม่เต็มวงเงิน แถมดอกเบี้ยคงที่แค่ 3-5 ปี
“เครดิต บูโร” กับมุมมองลูกหนี้รายย่อย
เรามีความเข้าใจเรื่องบริษัทข้อมูลเครดิตแห่งชาติ หรือเครดิต บูโร ไม่เหมือนกัน หลายคนได้รับคำตอบจากธนาคารว่า ไม่ปล่อยกู้ให้ เพราะเป็นแบล็กลิสต์ ผมว่ามันไม่ใช่ ต้องเริ่มตั้งแต่การรวบรวมข้อมูลของ เครดิต บูโร ซึ่งก็มาจากการรวบรวมข้อมูลการกู้เงินของลูกค้าทั้งพอร์ตของธนาคารพาณิชย์ ซึ่งจะถูกส่งมาที่เครดิต บูโร โดยไม่มีคอมเมนต์ใดๆ ทั้งสิ้น ซึ่งจะไปกระทบกระเทือนถึงกรรมการแล้วก็ผู้ค้ำประกันด้วย แต่ตอนนี้กฎหมายได้ตัดส่วนนี้ออกไปแล้ว ก็จะเป็นเฉพาะข้อมูลของผู้กู้ ทีนี้พอเข้าไปในระบบแล้ว ผู้ใช้บริการจะเป็นผู้หยิบข้อมูลมาใช้ ในระบบที่ดีผู้ใช้บริการจะต้องได้รับข้อมูลที่แปลงแล้ว ไม่ใช่ข้อมูลดิบ ข้อมูลที่แปลงแล้ว คือ ข้อมูลที่เอามาคำนวณแล้วเป็นพอยต์ (แต้ม) อย่างในสหรัฐฯเมื่อคำนวณพอยต์เต็ม 1,000 มีพอยต์มากกว่า 750 ถึงจะเรียกว่าผู้มีเครดิต ถ้าคนไหนไม่มีเครดิตก็ยากที่จะสร้างเครดิตได้ ก็ต้องเอาบัตรเครดิตจากปั๊ม ห้าง แล้วเริ่มสร้างจากตรงนั้น
แต่ในไทยเราจะใช้ข้อมูลพวกนี้ไปทางลบมากกว่าบวก ก็คือ พอผู้รับได้ข้อมูล ธนาคารก็จะสกอร์การ์ดว่าจะให้หรือไม่ให้ ผู้รับข้อมูลจากเครดิต บูโรไปใส่สกอร์การ์ดของเค้า แต่เมื่อมีประวัติการชำระเงินไม่ดี ไม่ว่าด้วยเหตุผลอะไร ไม่ปรากฏ ผู้รับต้องไปแปรผลเอง อย่างเกิดขึ้น เพราะสูญเสียเศรษฐกิจไม่ดี อันนี้ข้อมูลเครดิต บูโรส่งไปไม่มีข้อมูลตรงนี้ ไม่จ่ายก็คือไม่จ่าย อันนี้สำหรับพวกบุคคลที่เจอ
ตรง กันข้าม พวกค้าขายได้รับการเยียวยาหรือปรับโครงสร้างหนี้จากสถาบันการเงินอยู่แล้วใน ระดับหนึ่ง คือ หากมีโครงการใหม่ในอนาคต เปลี่ยนสินค้าที่ขาย วิธีการขาย สร้างโรงงานใหม่ สร้างบริการขึ้นมาใหม่ เครดิตก็จะมีการคำนวณฐานะทางการเงินในอนาคตเข้าไปด้วย เพราะฉะนั้น พวกนี้ก็เกือบจากไม่ต้องคำนึงถึงข้อมูลของเครดิต บูโร แต่บุคคลอย่างรายย่อยหรือรายกลางไม่ได้รับการพิจารณาตรงนี้เลย มันติดแล้วติดเลย
ที นี้กฎหมายใหม่ที่จะออกมาก็พยายามจะทำให้บุคคลได้รับความเป็นธรรมมากขึ้น คือ ทำสกอร์การ์ด แล้วให้ผู้ใช้ข้อมูลก็หยิบสกอร์การ์ด ไปใช้แทนที่จะเป็นข้อมูลดิบไป ก็อยู่ในกระบวนการที่เครดิตบูโรต้องทำ แล้วยิ่งทำเสร็จเร็วเท่าไหร่ ข้อมูลก็จะมีประโยชน์ใช้งานดีขึ้น
ปัญหาก็คือ สิทธิของผู้บริโภคต่อเรื่องนี้ ไม่ค่อยได้มีการศึกษามากนัก ทั้งๆ ที่เรามีกฎหมายเยอะในการคุ้มครองผู้บริโภค รวมถึงการประกอบธุรกิจข้อมูลเครดิต ไม่ค่อยถูกนำมาเผยแพร่ เพื่อประชาชนรู้ว่าจะดูแลผลประโยชน์ของเขาได้อย่างไร เรื่องนี้จึงเป็นเรื่องที่ต้องพยายามเผยให้ประชาชนได้รับรู้ด้วย
ข้อมูลเรื่องเครดิต บูโร ไม่ได้เป็นสิ่งที่ทุกคนเข้าใจ แล้วทุกคนหวั่นไหวกับมัน แล้วบางคนก็นำไปใช้เกินกว่าเหตุ ในเครดิต บูโรนั้น หากคุณผิดนัดชำระหนี้เกินเกณฑ์ที่กำหนด ชื่อจะต้องถูกบันทึกไว้ 3 ปี ถ้าเกิน 3 ปีก็จะถอดทิ้ง คือข้อมูลคุณไม่ปรากฏ แต่ที่สำคัญคือข้อมูลนั้นยังอยู่ในฐานข้อมูลของแบงก์อยู่ดี เขาไม่ได้ถอดไปด้วย ตรงนี้ยังไม่มีกฎหมายเข้ามาควบคุมดูแล มันก็เหมือนกับการล้มละลาย ก็จะมีการบันทึกไว้ 3 ปี หลังจากนั้น ผู้ล้มละลายก็มีสิทธิ์ที่จะเริ่มต้นใหม่ เริ่มชีวิตใหม่ ซึ่งกฎหมายของเครดิตบูโรก็คงใช้แบบอย่างอันนี้ ซึ่งในรอบ 3 ปีนี้ ถ้าไม่มีการกู้ยืมหรือทำธุรกรรม ประวัติควรจะต้องลบหมด
“จริงๆ แล้วคำว่าแบล็กลิสต์เนี่ย มันไม่มีนะ มีแต่พอใจที่จะให้กู้หรือไม่ให้กู้แค่นั้นเอง ดังนั้น เมื่อมีตัวสกอร์การ์ดที่เครดิต บูโรจะต้องทำเนี่ย ต้องแสดงให้เห็นว่าคนไหนมีสกอร์เท่าไหร่ สกอร์ดีก็น่าจะเป็นกูด เครดิต ไปที่ไหนก็กู้ง่ายได้อัตราดอกเบี้ยที่ต่ำ แต่ปัจจุบันเรากับใช้ข้อมูลตรงนี้ไปเชิงลบ คนที่ไม่อยู่ในรายชื่อก็คือแค่ผ่านไม่ใช่เครดิตดีที่ควรได้อัตราดอกเบี้ยที่ ต่ำกว่าปกติหรือพิเศษ แต่คนที่มีรายชื่อก็ไม่ปล่อยกู้ ตรงนี้จึงต้องมีสกอร์การ์ด ไม่ใช่การแปลความเอาเอง โดยขึ้นอยู่กับผู้จัดการสาขาแบงก์หรืออะไร”
สินเชื่อบ้านอุปสรรคชีวิตคนไทย
ผมขอยกตัวอย่างสินเชื่อที่อยู่อาศัยซึ่งเป็นเงินกู้ที่รายย่อยพอจะมี สิทธิ แต่ก็ยังไม่ได้รับความเป็นธรรมเท่าที่ควร ทั้งๆ ที่บ้านเป็นปัจจัยหลักของชีวิต เช่น เราต้องการซื้อบ้านสักหลังหนึ่งราคา 1 ล้านบาท ซึ่งเราก็อยากซื้อ ก็จะขาดเงินอยู่ 9 แสนบาท เพราะมีดาวน์อยู่แสนหนึ่ง แต่ธนาคารก็ไม่ให้ 9 แสนบาทเต็ม จะให้ประมาณ 7 แสนบาท ก็ต้องหา 2 แสนบาท ก็อาจจะต้องไปกู้ยืมนอกระบบที่ไหนก็ว่ากันไป แต่ 2 แสนนี่เป็นหนี้ที่ต้องชำระก่อน เพราะระยะเวลาสั้นกว่า คราวนี้ก็จะถูกบีบคั้น กลายเป็นว่าต้องชำระถึง 2 ก้อน พอหนี้ 2 แสนจบ ก็ผ่อนตัวหนี้ 7 แสนก็ผ่อนไม่ไหว ชีวิตก็ล้มเหลว ที่เป็นแบบนี้เพราะคุณไม่สนใจเลยว่าอะไรคือข้อเท็จจริงของลูกหนี้ ส่วนรายกลางก็เหมือนกับรายย่อย แต่รายใหญ่ นั่งเจรจากันได้ เอาอย่างโน้นก็ได้ อย่างนี้ก็ได้ อันนี้สภาพที่เป็นอยู่
ปัญหาเฉพาะหน้าตอนนี้ ก็คือ ยิ่งพอเกิดสถานการณ์แบบนี้ เศรษฐกิจถดถอย ต้องมีคนตกงาน รายได้ลด ซึ่งส่วนหนึ่งก็จะมีการค้างชำระหนี้อยู่ โดยเฉพาะพวกรายย่อย แต่สิ่งที่เกิดขึ้นคือ เขาเมินเฉยกับเรื่องเหล่านี้ ทั้งๆ ที่ภาวะแบบนี้มันต้องมีการดูแล การเยียวยา ไม่มากก็น้อยกับผู้กู้รายย่อย ต้องให้โอกาสเขาบ้าง เพราะผู้กู้รายใหญ่ได้รับการเยียวยามาโดยตลอดอยู่แล้ว
หนุนพัฒนาบริษัทค้ำประกันเงินกู้
เรามาขยายความเรื่องการปัญหาเรื่องสินเชื่อที่อยู่อาศัย ตัวอย่างเดิมบ้านราคา 1 ล้านบาท มีเงินดาวน์ 1 แสนบาท ธนาคารปล่อยกู้ให้ 7 แสนบาท ที่เหลืออีก 2 แสนบาท ไปกู้นอกระบบ อาจจะเป็นพ่อแม่ เพื่อน แต่ก้อนนี้มักจะเป็นระยะสั้นกว่าก็ต้องคืนก่อน สิ่งที่เกิดขึ้นต่อมาก็คือคุณรับภาระไม่ไหว ทางที่จะแก้ไขก็คือมีสถาบันหรือหน่วยงานที่เข้ามาดูแล จึงควรมีการสร้างบริษัทค้ำประกันสินเชื่อที่อยู่อาศัย (มอร์เกจ อินชัวรันซ์ ซึ่งเป็นเรื่องจำเป็น ระบบการทำงานก็คือเราจ่ายค่าฟี (ธรรมเนียม) เพียงเล็กน้อย แต่ก็จะเป็นการประกันว่า 2 แสนที่ขาดอยู่นี่ได้แน่ เพื่อเติมเต็มส่วนที่ขาดจากธนาคาร แล้วก็ไปทำจำนองอันดับที่ 2
แนว ทางในการบริหารของสถาบันนี้ก็ค่อนข้างระมัดระวังอยู่พอสมควร โดยส่วนแรกจะเป็นรายได้ที่มาจากค่าฟีของผู้กู้หลายรายนั้น น่าจะครอบคลุมส่วนของลูกหนี้ที่มีปัญหาซึ่งอาจจะแค่ 5-10% เท่านั้นเอง ส่วนที่ 2 ก็คือหลักประกันจากการจำนองอันดับ 2 นั้น ตัวทรัพย์สินที่เป็นหลักประกันก็คือบ้านหรือที่ดินนั้น โดยส่วนใหญ่มักจะมีมูลค่าเพิ่มขึ้นเสมอ หรือไม่หยุดชะงักแล้วก็ขึ้น ซึ่งน่าจะเป็นอย่างนี้ตราบที่ราคาทรัพย์สินบ้านเรายังไล่ราคาทรัพย์สินใน เมืองใหญ่ของตลาดโลกไม่ทัน ทีนี้พอถึงเวลาอันควร เขาก็จะได้ส่วนแบ่งจะการยึดหรือขายทรัพย์มา
การเคหะฯต้องเป็นนโยบายระดับชาติ
นโยบาย ด้านการเคหะฯ จำเป็นต้องผลักดันให้เป็น National Housing Policy ซึ่งประเทศที่พัฒนาแล้วจะมี เป็นตัวที่บอกถึงแนวทางในการพัฒนาระบบที่เกี่ยวข้องที่อยู่อาศัยทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นสาธารณูปโภค ผังเมืองจนไปถึงระบบการกู้ยืมเพื่อซื้อที่อยู่อาศัย ซึ่งควรจะเป็นดอกเบี้ยคงที่ทั้งอายุการกู้ และที่สำคัญการมี National Housing Policy จะทำให้มีข้อมูลของทรัพย์ มีตลาดกลางของทรัพย์ จากปัจจุบันที่ลูกค้าต้องวิ่งดูเอง ไม่มีศูนย์ข้อมูลกลางที่จะบอกว่าที่ไหนมีทรัพย์ซื้อ หรือขาย หนังสือพิมพ์ก็ได้แต่โฆษณา จึงควรต้องมีศูนย์ข้อมูลตรงนี้โดยเฉพาะตลาดบ้านมือสอง
การมีแหล่งข้อมูลตรงนี้จะช่วยให้ประชาชนมีปัจจัยที่สำคัญในการดำเนิน ชีวิตอย่างหนึ่งคือบ้านอย่างเหมาะสม อย่างชีวิตเราตอนที่ยังไม่โต ไม่มีครอบครัวก็เช่าบ้านที่มีห้องเดียวได้เพราะอยู่คนเดียว พอแต่งงานก็ยังอยู่ได้ แต่พอมีลูก 1 คน ก็ต้องขายที่พักที่มีห้องเดียว แล้วไปบ้านซื้อที่มี 2 ห้อง พอมีลูก 2 คน ก็ต้องเป็นบ้านที่มี 3 ห้องแล้ว แต่พอลูก 2 คนโตเข้ามหาวิทยาลัยหรือแต่งงานมีครอบครัวไป ก็ต้องกลับมาหาบ้านหลังเดียวอีกแล้ว เพราะคุณไม่จำเป็นต้องแบกบ้าน 3 ห้องนอนไว้ ทำให้ต้องใช้แหล่งข้อมูลเรื่องตลาดบ้านมือสองมากขึ้น
National Housing Policy ยังมีความสำคัญในการที่วางแผนการพัฒนาประเทศว่าจะพัฒนากันอย่างไร มีเอ็นจิเนียริ่งอย่างไร แบบบ้านนี้น่าจะช่วยประหยัดพลังงานและเรื่องเงินผ่อนระยะยาวดอกเบี้ยคงที่ (ฟิกซ์) ตลอดอายุ รัฐจะเข้ามาดูแลอย่างไร เพราะเรื่องดอกเบี้ยฟิกซ์นี่ธนาคารไม่กล้าทำอยู่แล้ว แต่เรื่องที่อยู่อาศัยนี่ มันเป็นเรื่องพื้นฐานของประชาชน ต้องได้รับดูแล หากไม่มีการฟิกซ์ดอกเบี้ย เขาก็จะคำนวณการใช้จ่ายในอนาคตไม่ได้ เดี๋ยวไปๆ มาๆ ที่จ่ายไปเป็นดอกเบี้ย 200 บาทเงินต้นแค่ 100 บาทก็แย่
การฟิกซ์ดอกเบี้ยแค่ 3 ปี 5 ปี ไม่ดี ต้องฟิกซ์ตลอดระยะเวลาการกู้ ภาครัฐต้องเข้ามา การทำ National Housing Policy ก็มีความเกี่ยวพันกับหลายกระทรวงหลายหน่วยงาน เพราะต้องดูแลคนหลายล้านคนที่ตั้งรกรากอยู่ในเมืองไทย ต้องเอาเรื่องนี้มาทำเป็นนโยบายอย่างจริงจัง ก็เคยมีคนผลักดันเรื่องนี้ แต่ไปไม่ได้ไกล เป็นนโยบายระยะยาวที่ต้องทำเพราะถือเป็นคุณภาพชีวิตของคนทั้งประเทศ
ปัจจุบัน การหาที่อยู่อาศัยของคนไทยยังไม่ค่อยเหมาะสม คืออยู่ที่ไหนแล้วก็อยู่เลย ไปทำงานที่ไหนไกลแสนไกล แต่ก็ไม่เปลี่ยนที่อยู่ เพราะอะไร เพราะคิดว่ามันยุ่งยาก ที่ยุ่งยากก็เพราะมันไม่มีตลาด ไม่มีข้อมูลตรงนี้ จริงๆ แล้วอาจจะมีคนอยากขายที่พักอาศัยตรงที่เราต้องการเยอะแยะ แล้วก็มีคนอยากจะซื้อตรงที่เราอยากขายอยู่เหมือนกัน แต่ไม่รู้ข้อมูล ไม่มีข้อมูลส่วนกลางตรงนี้ จึงเป็นสิ่งจำเป็นที่ต้องมีหน่วยงานที่รัฐบาลสนับสนุน“วิโรจน์ นวลแข” อดีตกรรมการผู้จัดการ ธนาคารกรุงไทย และ อดีตประธานกรรมการบริหาร บริษัทหลักทรัพย์ภัทร (บล.ภัทร) วิเคราะห์บริษัทข้อมูลเครดิตแห่งชาติ (เครดิต บูโร) พร้อมให้ข้อมูลความรู้เกี่ยวกับบทบาทในการดูแลลูกหนี้ การขึ้นบัญชีดำลูกหนี้รายย่อยที่ผ่านมา ต่อด้วยมุมมองคนไทยกับการมีที่อยู่อาศัยที่เต็มไปด้วยอุปสรรค ทั้งการกู้ได้ไม่เต็มวงเงิน แถมดอกเบี้ยคงที่แค่ 3-5 ปี
“เครดิต บูโร” กับมุมมองลูกหนี้รายย่อย
เรามีความเข้าใจเรื่องบริษัทข้อมูลเครดิตแห่งชาติ หรือเครดิต บูโร ไม่เหมือนกัน หลายคนได้รับคำตอบจากธนาคารว่า ไม่ปล่อยกู้ให้ เพราะเป็นแบล็กลิสต์ ผมว่ามันไม่ใช่ ต้องเริ่มตั้งแต่การรวบรวมข้อมูลของ เครดิต บูโร ซึ่งก็มาจากการรวบรวมข้อมูลการกู้เงินของลูกค้าทั้งพอร์ตของธนาคารพาณิชย์ ซึ่งจะถูกส่งมาที่เครดิต บูโร โดยไม่มีคอมเมนต์ใดๆ ทั้งสิ้น ซึ่งจะไปกระทบกระเทือนถึงกรรมการแล้วก็ผู้ค้ำประกันด้วย แต่ตอนนี้กฎหมายได้ตัดส่วนนี้ออกไปแล้ว ก็จะเป็นเฉพาะข้อมูลของผู้กู้ ทีนี้พอเข้าไปในระบบแล้ว ผู้ใช้บริการจะเป็นผู้หยิบข้อมูลมาใช้ ในระบบที่ดีผู้ใช้บริการจะต้องได้รับข้อมูลที่แปลงแล้ว ไม่ใช่ข้อมูลดิบ ข้อมูลที่แปลงแล้ว คือ ข้อมูลที่เอามาคำนวณแล้วเป็นพอยต์ (แต้ม) อย่างในสหรัฐฯเมื่อคำนวณพอยต์เต็ม 1,000 มีพอยต์มากกว่า 750 ถึงจะเรียกว่าผู้มีเครดิต ถ้าคนไหนไม่มีเครดิตก็ยากที่จะสร้างเครดิตได้ ก็ต้องเอาบัตรเครดิตจากปั๊ม ห้าง แล้วเริ่มสร้างจากตรงนั้น
แต่ในไทยเราจะใช้ข้อมูลพวกนี้ไปทางลบมากกว่าบวก ก็คือ พอผู้รับได้ข้อมูล ธนาคารก็จะสกอร์การ์ดว่าจะให้หรือไม่ให้ ผู้รับข้อมูลจากเครดิต บูโรไปใส่สกอร์การ์ดของเค้า แต่เมื่อมีประวัติการชำระเงินไม่ดี ไม่ว่าด้วยเหตุผลอะไร ไม่ปรากฏ ผู้รับต้องไปแปรผลเอง อย่างเกิดขึ้น เพราะสูญเสียเศรษฐกิจไม่ดี อันนี้ข้อมูลเครดิต บูโรส่งไปไม่มีข้อมูลตรงนี้ ไม่จ่ายก็คือไม่จ่าย อันนี้สำหรับพวกบุคคลที่เจอ
ตรง กันข้าม พวกค้าขายได้รับการเยียวยาหรือปรับโครงสร้างหนี้จากสถาบันการเงินอยู่แล้วใน ระดับหนึ่ง คือ หากมีโครงการใหม่ในอนาคต เปลี่ยนสินค้าที่ขาย วิธีการขาย สร้างโรงงานใหม่ สร้างบริการขึ้นมาใหม่ เครดิตก็จะมีการคำนวณฐานะทางการเงินในอนาคตเข้าไปด้วย เพราะฉะนั้น พวกนี้ก็เกือบจากไม่ต้องคำนึงถึงข้อมูลของเครดิต บูโร แต่บุคคลอย่างรายย่อยหรือรายกลางไม่ได้รับการพิจารณาตรงนี้เลย มันติดแล้วติดเลย
ที นี้กฎหมายใหม่ที่จะออกมาก็พยายามจะทำให้บุคคลได้รับความเป็นธรรมมากขึ้น คือ ทำสกอร์การ์ด แล้วให้ผู้ใช้ข้อมูลก็หยิบสกอร์การ์ด ไปใช้แทนที่จะเป็นข้อมูลดิบไป ก็อยู่ในกระบวนการที่เครดิตบูโรต้องทำ แล้วยิ่งทำเสร็จเร็วเท่าไหร่ ข้อมูลก็จะมีประโยชน์ใช้งานดีขึ้น
ปัญหาก็คือ สิทธิของผู้บริโภคต่อเรื่องนี้ ไม่ค่อยได้มีการศึกษามากนัก ทั้งๆ ที่เรามีกฎหมายเยอะในการคุ้มครองผู้บริโภค รวมถึงการประกอบธุรกิจข้อมูลเครดิต ไม่ค่อยถูกนำมาเผยแพร่ เพื่อประชาชนรู้ว่าจะดูแลผลประโยชน์ของเขาได้อย่างไร เรื่องนี้จึงเป็นเรื่องที่ต้องพยายามเผยให้ประชาชนได้รับรู้ด้วย
ข้อมูลเรื่องเครดิต บูโร ไม่ได้เป็นสิ่งที่ทุกคนเข้าใจ แล้วทุกคนหวั่นไหวกับมัน แล้วบางคนก็นำไปใช้เกินกว่าเหตุ ในเครดิต บูโรนั้น หากคุณผิดนัดชำระหนี้เกินเกณฑ์ที่กำหนด ชื่อจะต้องถูกบันทึกไว้ 3 ปี ถ้าเกิน 3 ปีก็จะถอดทิ้ง คือข้อมูลคุณไม่ปรากฏ แต่ที่สำคัญคือข้อมูลนั้นยังอยู่ในฐานข้อมูลของแบงก์อยู่ดี เขาไม่ได้ถอดไปด้วย ตรงนี้ยังไม่มีกฎหมายเข้ามาควบคุมดูแล มันก็เหมือนกับการล้มละลาย ก็จะมีการบันทึกไว้ 3 ปี หลังจากนั้น ผู้ล้มละลายก็มีสิทธิ์ที่จะเริ่มต้นใหม่ เริ่มชีวิตใหม่ ซึ่งกฎหมายของเครดิตบูโรก็คงใช้แบบอย่างอันนี้ ซึ่งในรอบ 3 ปีนี้ ถ้าไม่มีการกู้ยืมหรือทำธุรกรรม ประวัติควรจะต้องลบหมด
“จริงๆ แล้วคำว่าแบล็กลิสต์เนี่ย มันไม่มีนะ มีแต่พอใจที่จะให้กู้หรือไม่ให้กู้แค่นั้นเอง ดังนั้น เมื่อมีตัวสกอร์การ์ดที่เครดิต บูโรจะต้องทำเนี่ย ต้องแสดงให้เห็นว่าคนไหนมีสกอร์เท่าไหร่ สกอร์ดีก็น่าจะเป็นกูด เครดิต ไปที่ไหนก็กู้ง่ายได้อัตราดอกเบี้ยที่ต่ำ แต่ปัจจุบันเรากับใช้ข้อมูลตรงนี้ไปเชิงลบ คนที่ไม่อยู่ในรายชื่อก็คือแค่ผ่านไม่ใช่เครดิตดีที่ควรได้อัตราดอกเบี้ยที่ ต่ำกว่าปกติหรือพิเศษ แต่คนที่มีรายชื่อก็ไม่ปล่อยกู้ ตรงนี้จึงต้องมีสกอร์การ์ด ไม่ใช่การแปลความเอาเอง โดยขึ้นอยู่กับผู้จัดการสาขาแบงก์หรืออะไร”
สินเชื่อบ้านอุปสรรคชีวิตคนไทย
ผมขอยกตัวอย่างสินเชื่อที่อยู่อาศัยซึ่งเป็นเงินกู้ที่รายย่อยพอจะมี สิทธิ แต่ก็ยังไม่ได้รับความเป็นธรรมเท่าที่ควร ทั้งๆ ที่บ้านเป็นปัจจัยหลักของชีวิต เช่น เราต้องการซื้อบ้านสักหลังหนึ่งราคา 1 ล้านบาท ซึ่งเราก็อยากซื้อ ก็จะขาดเงินอยู่ 9 แสนบาท เพราะมีดาวน์อยู่แสนหนึ่ง แต่ธนาคารก็ไม่ให้ 9 แสนบาทเต็ม จะให้ประมาณ 7 แสนบาท ก็ต้องหา 2 แสนบาท ก็อาจจะต้องไปกู้ยืมนอกระบบที่ไหนก็ว่ากันไป แต่ 2 แสนนี่เป็นหนี้ที่ต้องชำระก่อน เพราะระยะเวลาสั้นกว่า คราวนี้ก็จะถูกบีบคั้น กลายเป็นว่าต้องชำระถึง 2 ก้อน พอหนี้ 2 แสนจบ ก็ผ่อนตัวหนี้ 7 แสนก็ผ่อนไม่ไหว ชีวิตก็ล้มเหลว ที่เป็นแบบนี้เพราะคุณไม่สนใจเลยว่าอะไรคือข้อเท็จจริงของลูกหนี้ ส่วนรายกลางก็เหมือนกับรายย่อย แต่รายใหญ่ นั่งเจรจากันได้ เอาอย่างโน้นก็ได้ อย่างนี้ก็ได้ อันนี้สภาพที่เป็นอยู่
ปัญหาเฉพาะหน้าตอนนี้ ก็คือ ยิ่งพอเกิดสถานการณ์แบบนี้ เศรษฐกิจถดถอย ต้องมีคนตกงาน รายได้ลด ซึ่งส่วนหนึ่งก็จะมีการค้างชำระหนี้อยู่ โดยเฉพาะพวกรายย่อย แต่สิ่งที่เกิดขึ้นคือ เขาเมินเฉยกับเรื่องเหล่านี้ ทั้งๆ ที่ภาวะแบบนี้มันต้องมีการดูแล การเยียวยา ไม่มากก็น้อยกับผู้กู้รายย่อย ต้องให้โอกาสเขาบ้าง เพราะผู้กู้รายใหญ่ได้รับการเยียวยามาโดยตลอดอยู่แล้ว
หนุนพัฒนาบริษัทค้ำประกันเงินกู้
เรามาขยายความเรื่องการปัญหาเรื่องสินเชื่อที่อยู่อาศัย ตัวอย่างเดิมบ้านราคา 1 ล้านบาท มีเงินดาวน์ 1 แสนบาท ธนาคารปล่อยกู้ให้ 7 แสนบาท ที่เหลืออีก 2 แสนบาท ไปกู้นอกระบบ อาจจะเป็นพ่อแม่ เพื่อน แต่ก้อนนี้มักจะเป็นระยะสั้นกว่าก็ต้องคืนก่อน สิ่งที่เกิดขึ้นต่อมาก็คือคุณรับภาระไม่ไหว ทางที่จะแก้ไขก็คือมีสถาบันหรือหน่วยงานที่เข้ามาดูแล จึงควรมีการสร้างบริษัทค้ำประกันสินเชื่อที่อยู่อาศัย (มอร์เกจ อินชัวรันซ์ ซึ่งเป็นเรื่องจำเป็น ระบบการทำงานก็คือเราจ่ายค่าฟี (ธรรมเนียม) เพียงเล็กน้อย แต่ก็จะเป็นการประกันว่า 2 แสนที่ขาดอยู่นี่ได้แน่ เพื่อเติมเต็มส่วนที่ขาดจากธนาคาร แล้วก็ไปทำจำนองอันดับที่ 2
แนว ทางในการบริหารของสถาบันนี้ก็ค่อนข้างระมัดระวังอยู่พอสมควร โดยส่วนแรกจะเป็นรายได้ที่มาจากค่าฟีของผู้กู้หลายรายนั้น น่าจะครอบคลุมส่วนของลูกหนี้ที่มีปัญหาซึ่งอาจจะแค่ 5-10% เท่านั้นเอง ส่วนที่ 2 ก็คือหลักประกันจากการจำนองอันดับ 2 นั้น ตัวทรัพย์สินที่เป็นหลักประกันก็คือบ้านหรือที่ดินนั้น โดยส่วนใหญ่มักจะมีมูลค่าเพิ่มขึ้นเสมอ หรือไม่หยุดชะงักแล้วก็ขึ้น ซึ่งน่าจะเป็นอย่างนี้ตราบที่ราคาทรัพย์สินบ้านเรายังไล่ราคาทรัพย์สินใน เมืองใหญ่ของตลาดโลกไม่ทัน ทีนี้พอถึงเวลาอันควร เขาก็จะได้ส่วนแบ่งจะการยึดหรือขายทรัพย์มา
การเคหะฯต้องเป็นนโยบายระดับชาติ
นโยบาย ด้านการเคหะฯ จำเป็นต้องผลักดันให้เป็น National Housing Policy ซึ่งประเทศที่พัฒนาแล้วจะมี เป็นตัวที่บอกถึงแนวทางในการพัฒนาระบบที่เกี่ยวข้องที่อยู่อาศัยทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นสาธารณูปโภค ผังเมืองจนไปถึงระบบการกู้ยืมเพื่อซื้อที่อยู่อาศัย ซึ่งควรจะเป็นดอกเบี้ยคงที่ทั้งอายุการกู้ และที่สำคัญการมี National Housing Policy จะทำให้มีข้อมูลของทรัพย์ มีตลาดกลางของทรัพย์ จากปัจจุบันที่ลูกค้าต้องวิ่งดูเอง ไม่มีศูนย์ข้อมูลกลางที่จะบอกว่าที่ไหนมีทรัพย์ซื้อ หรือขาย หนังสือพิมพ์ก็ได้แต่โฆษณา จึงควรต้องมีศูนย์ข้อมูลตรงนี้โดยเฉพาะตลาดบ้านมือสอง
การมีแหล่งข้อมูลตรงนี้จะช่วยให้ประชาชนมีปัจจัยที่สำคัญในการดำเนิน ชีวิตอย่างหนึ่งคือบ้านอย่างเหมาะสม อย่างชีวิตเราตอนที่ยังไม่โต ไม่มีครอบครัวก็เช่าบ้านที่มีห้องเดียวได้เพราะอยู่คนเดียว พอแต่งงานก็ยังอยู่ได้ แต่พอมีลูก 1 คน ก็ต้องขายที่พักที่มีห้องเดียว แล้วไปบ้านซื้อที่มี 2 ห้อง พอมีลูก 2 คน ก็ต้องเป็นบ้านที่มี 3 ห้องแล้ว แต่พอลูก 2 คนโตเข้ามหาวิทยาลัยหรือแต่งงานมีครอบครัวไป ก็ต้องกลับมาหาบ้านหลังเดียวอีกแล้ว เพราะคุณไม่จำเป็นต้องแบกบ้าน 3 ห้องนอนไว้ ทำให้ต้องใช้แหล่งข้อมูลเรื่องตลาดบ้านมือสองมากขึ้น
National Housing Policy ยังมีความสำคัญในการที่วางแผนการพัฒนาประเทศว่าจะพัฒนากันอย่างไร มีเอ็นจิเนียริ่งอย่างไร แบบบ้านนี้น่าจะช่วยประหยัดพลังงานและเรื่องเงินผ่อนระยะยาวดอกเบี้ยคงที่ (ฟิกซ์) ตลอดอายุ รัฐจะเข้ามาดูแลอย่างไร เพราะเรื่องดอกเบี้ยฟิกซ์นี่ธนาคารไม่กล้าทำอยู่แล้ว แต่เรื่องที่อยู่อาศัยนี่ มันเป็นเรื่องพื้นฐานของประชาชน ต้องได้รับดูแล หากไม่มีการฟิกซ์ดอกเบี้ย เขาก็จะคำนวณการใช้จ่ายในอนาคตไม่ได้ เดี๋ยวไปๆ มาๆ ที่จ่ายไปเป็นดอกเบี้ย 200 บาทเงินต้นแค่ 100 บาทก็แย่
การฟิกซ์ดอกเบี้ยแค่ 3 ปี 5 ปี ไม่ดี ต้องฟิกซ์ตลอดระยะเวลาการกู้ ภาครัฐต้องเข้ามา การทำ National Housing Policy ก็มีความเกี่ยวพันกับหลายกระทรวงหลายหน่วยงาน เพราะต้องดูแลคนหลายล้านคนที่ตั้งรกรากอยู่ในเมืองไทย ต้องเอาเรื่องนี้มาทำเป็นนโยบายอย่างจริงจัง ก็เคยมีคนผลักดันเรื่องนี้ แต่ไปไม่ได้ไกล เป็นนโยบายระยะยาวที่ต้องทำเพราะถือเป็นคุณภาพชีวิตของคนทั้งประเทศ
ปัจจุบัน การหาที่อยู่อาศัยของคนไทยยังไม่ค่อยเหมาะสม คืออยู่ที่ไหนแล้วก็อยู่เลย ไปทำงานที่ไหนไกลแสนไกล แต่ก็ไม่เปลี่ยนที่อยู่ เพราะอะไร เพราะคิดว่ามันยุ่งยาก ที่ยุ่งยากก็เพราะมันไม่มีตลาด ไม่มีข้อมูลตรงนี้ จริงๆ แล้วอาจจะมีคนอยากขายที่พักอาศัยตรงที่เราต้องการเยอะแยะ แล้วก็มีคนอยากจะซื้อตรงที่เราอยากขายอยู่เหมือนกัน แต่ไม่รู้ข้อมูล ไม่มีข้อมูลส่วนกลางตรงนี้ จึงเป็นสิ่งจำเป็นที่ต้องมีหน่วยงานที่รัฐบาลสนับสนุน
วันอาทิตย์ที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552
ชี้ทางลูกค้ารายย่อยรับมือ “เครดิต บูโร-สินเชื่อบ้าน”
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น